วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture Notes

Lecture  Notes
Magazine   นิตยสาร จะเป็นหนังสือที่จะออกเป็นประจำและจะมีกำหนดแน่นอน เช่น
รายสัปดาห์  รายปักษ์  รายเดือน รายไตรมาส รายหกเดือน  รายปี
รายปักษ์   จะอยู่ได้ประมาณ 15 วัน  ส่วนรายไตรมาสนี้จะเป็นนิตยสารที่ออกวางแผนมากที่สุดและจะอยู่ประมาณ 3 เดือน
ลักษณะของ Magazine
เมื่อ Magazine ออกวางแผนแล้วผู้ที่อ่านจะเป็นทุกเพศทุกวัยก็สามามารถอ่านได้โดยไม่ค่อยมีความรู้ทางวิชาการสูงระดับคนธรรมดาก็สามารถอ่านออกได้
ข้อดีของ Magazine
1.   เพื่อความเพลิดเพลินในเวลายามว่างหรือเวลาเหงาที่ไม่มีอะไรทำ
2.   ผู้ที่เขียน Magazine ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการสูงคนธรรมดาก็สามารถเขียนได้
3.   ถ้าอ่าน Magazine แล้วจะมีเนื้อหาเยอะมาก เช่น เรื่องแฟชั่น ข่าวดารา ดูดวง ข่าวเศรษฐกิจ  การเมือง  เป็นต้น
      Journals จะคล้ายกับ Magazine แต่จะต่างตรงที่ผู้เขียนผู้ที่จะเขียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ และจะต้องเป็นอาจารย์และคนธรรมดาจะอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเลยไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่คนเหล่านี้
ความพิเศษของ Journals
การจะตีพิมพ์ครั้งจะยากมากเพราะเมื่อเขียนเสร็จแล้วใช้ว่าจะตีพิมพ์ได้เลยต้องมีการส่งให้กับอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อการกลั่นกรองว่าเหมาะสมไหมก่อนจะได้การตีพิมพ์
Journals สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Periodical ซึ่งหมายถึง สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
Serials จะมีความหมายที่เหมือนกับคำ Journalsเวลาที่เราทำงานหรือรายงานควรอ่าน
 Journals มากกว่าที่จะอ่าน Magazineเพราะเนื้อหาจะเน้นกว่าและเป็นตัวที่น่าเชื่อถือมากกว่า
การตีพิมพ์ของ Journalsจะมีความถี่น้อยกว่าMagazineและจะออกประมาณ 3 เดือนจะมีการตีพิมพ์ออกสู่ตลาดหรือไม่อย่างช้าปีหนึ่งออกครั้งหนึ่ง
       วารสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องจะมี
ฉบับที่ Number ( No.)
ISSN (Intemational Standard Serials Number) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร
Newspapers หนังสือพิมพ์จะคล้ายกับMagazineตรงที่ให้ข่าว ดูดวง การเมือง
ขนาดของหนังสือพิมพ์  ความถี่จะตีพิมพ์ทุกวันจะมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ 3 วันตีพิมพ์ครั้งหนึ่งนั้นก็คือ หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ
หนังสือพิมพ์จะแบ่งออกได้ 3 ประเภท
-          ระดับท้องถิ่น  ขายอยู่ในระดับพื้นที่
-          ระดับชาติ เช่น ไทยรัฐ คมชัดลึก สยามรัฐ ประชาชาติ เป็นต้น
-          ระดับนานาชาติ  เช่น New York time   Washington post เป็นต้น
วัสดุย่อส่วน (Microform) คือ การเก็บข้อมูลขนาดเล็กสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
-          ไมโครฟิล์ม
-          ไมโครฟิช
-          ไมโครการ์ด
   Encyclopedias คือ สารานุกรม เป็นหนังสือพิมพ์อ้างอิงชนิดหนึ่งที่มีราคาแพง หายากและจะเป็นหนังสือที่อ่านแค่บางส่วนจะไม่จำเป็นที่ต้องอ่านทั้งแล่ม




วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lacture

Lecture  Notes
ห้องสมุดนั้นถือว่าเป็นห้องสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการค้นคว้าหาข้อมูลนอกห้องเรียนซึ่งในมหาลัยจะมีการจัดห้องสมุดอยู่ด้วยกัน  2 ระบบ คือ
  1.ระบบดิ้วอี้  คือ  เป็นระบบที่เหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีพื้นที่ในการจัดน้อยหรือมีขนาดพื้นที่ขนาดเล็ก
  2. ระบบรัฐสภาอเมริกัน  คือ   เป็นระบบที่เหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีพื้นที่ในการจัดมากหรือที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
โดยในระบบทั้งสองนี้จะมีการเจาะลึกในเนื้อหามากกว่าระบบ  OPAC 
Melville Dewey คือ การจัดรูปแบบทศนิยมดิวอี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดิวอี้
คำว่า OPAC ย่อมาจากคำว่า Conline Public Access Catalogs
                        ข้อจำกัดของ OPAC
คือ  ใช้ในการสืบค้นหาทรัพยากรในห้องสมุดเท่านั้น เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ
อ้างอิง แผ่นCD เทปโทรทัศน์ เป็นต้น ถ้านอกเหนือจากจากนี้จะไม่สามารถหาได้
               ซึ่งในระบบดิ้วอี้นี้จะมีการจัดหน้าที่เหมือนกับหนังสือ
   Contents   คือ สารบัญ
   Glossary   คือ อภิทานศัพท์
     Index       คือ ดรรชนี หรือ เขียนอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ดัชนี
    Autino      คือ ผู้แต่ง 
Iulstrolor คือ สำนักพิมพ์
Copvrighlpay คือ หน้าลิขสิทธ์
 ISBN    คือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
 ISSN   คือ เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร
ซึ่ง SS ย่อมาจากคำว่า Serials คือ สิ่งที่ออกมาต่อๆกันจนไม่มีที่สิ้นสุด
Imprint คือ พิมพลักษณ์ ( เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ปีที่พิมพ์ )
Edition   คือ ครั้งที่พิมพ์
ดัชนี หมายถึง จะให้คำหรือหัวข้อเรื่องและตัวเลขซึ่งตัวเลขในที่นี้ก็คือการบอกหน้าของคำนั้นๆจะง่ายแก่การค้นหาคำนั้นซึ่งจะประหยัดเวลาแล้วดัชนีนี้จะล่วงลึกและจะมีรายละเอียดมากกว่าสารบัญแล้วดัชนีจะอยู่ตรงจุดมากกว่าสารบัญ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture ~

หมวด   100      ธรรมมะ
หมวด    200    ปรัชญา
หมวด    300    สังคม
หมวด    400    ภาษา
หมวด     500   ฟิสิกส์ เคมี
หมวด     600    ทุกสาขาจะอยู่ในหมวดนี้
หมวด     700    นันทนาการ
หมวด     800     วรรณคดี
หมวด      900    ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์

Opac   คือ    ระบบที่ใช้ในด้านสืบค้นข้อมูลก่อนที่จะไปหาในด้านหมวดหนังสือ
ในห้องสมุดจัดได้ว่ามีหนังสือจำพวกหนึ่งที่มีราคาแพงและเป็นหนังสือที่หายากหรือเรียกง่ายๆว่าเป็นหนังสือเก่าแก่นั้นก็คือ หนังสืออ้างอิง  
ห้องสมุดถือเป็นแหล่งให้ความรู้หรือเป็นแหล่งค้นคว้าอีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญที่ทุกคนต้องอยากเข้าไปค้นหาหรือหาความรู้เพิ่มจากที่เรียนมา  ดังนั้น  การจัดห้องสมุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาหนังสือที่เราต้องการและประหยัดต่อเวลาในการหาหนังสือแล่มๆนั้นได้จึงได้จัดหนังสือเป็นหมวดขึ้นเพื่อเป็นระเบียบด้วย
และการจัดเรียงหนังสือนั้นจะจัดเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก ก็คือ  99

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture

Lecture  Notes

       ที่มาของหัวข้อโปรเจ็ค
 -     อาจารย์ผู้สอน
-          นักศึกษา
       เงื่อนไขในการทำโปรเจ็ค
-          เนื้อหาไม่น้อยกว่า 10 แผ่น (A4)
-          มีข้อมูลจากหนังสือ  วารสารและมาจากเว็บไซด์
      ข้อควรคำนึงในการเลือกหัวข้อในการทำงาน
-          ไม่กว้างหรือไม่แคบเกินไปและควรเหมาะสมกับปริมาณเนื้อหาที่กำหนด
-          มีแหล่งข้อมูลที่เพียงพอ
-          ระยะเวลาควรเหมาะสมกับงานที่เราทำ
-          เลือกหัวข้อที่มีประโยชน์กับตัวเราและผู้อื่น


  

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อคิดที่ได้จากการชมภาพยนตร์

1.ให้แง่คิดเกี่ยวกับการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและคิดอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจซื้อสิ่งของ
2.ให้เเง่คิดในด้านการใช้เงินอย่างพอดีกับงบประมาณในกระเป๋าเงินเรา
3.ในเรื่องนี้สอนเราในด้านการเเต่งตัวก็คืออย่าเเต่งตัวเเข่งกับเเฟชั่น
4.การที่เราสามารถตัดกิเลสได้เราก็สามารถอยู่บนความประหยัดได้
5.เราควรใช้เงินที่อยู่ในกระเป๋าให้เกิดประโยนช์ให้มากที่สุด
6.การพูดโกหกนั้นมีเเต่ผลลบต่อเราเเต่ถ้าเราผูดความจริงผลที่ออกมาอาจจะดีกว่าการที่เราพูดเท็จ
7.รู้จักใช้เงินอย่างประหยัด
8.ใช้เงินอย่างรู้ค่า
9.ก่อนซื้อของควรดูการใช้ประโยนช์ของสิ่งนั้นด้วย
10.ควรซื้อของที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Confessions Of A Shopaholic

 Confessions Of A Shopaholic
     หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอมีอาชีพเป็นนักเขียนคอลัมน์ในนิตยสารฉบับหนึ่งเธอชอบทำตัวฟุ้มเฟื่อยเพราะเธอติดของแบรนด์เนมและเธอก็เป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่หลายสิบใบจนในที่สุดไม่มีเงินใช้หนี้บัตรเครดิตเธอจึงทำทุกวิถีทางเพื่อหาเงินมาใช้หนี้และในที่สุดเธอก็ต้องนำของแบรนด์เนมที่เธอมีอยู่ทั้งหมดไปขายเพื่อนำเงินมาใช้หนี้บัตรเครดิต  ^_^

GooGle : ]

Google
ไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจขนาดจิ๋ว ซึ่งก่อเกิดจากมันสมองของนักศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด  นาย จะสามารถถีบตัวเป็น Search Engine ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก เพียงชั่วระยะเวลาเพียง  ปี

          เซอร์ไก บริน (Ser- gey Brin) ขณะอายุ ๒๒ ปี และลาร์รี เพจ (Larry Page) ขณะอายุ ๒๑ ปี ร่วมกันสถาปนา Google.com ในปี ๒๕๓๘ โดยในชั้นแรกใช้ชื่อ Back Rub ห้องพักในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ของคนทั้งสองแปรสภาพเป็นสำนักงาน ห้องพักของเพจเป็นศูนย์สารสนเทศ ส่วนห้องพักของบรินเป็นสำนักงานธุรกิจ โดยที่ในเวลาต่อมาย้ายสำนักงานไปยัง Menlo Park มลรัฐแคลิฟอร์เนีย Google.com ถือกำเนิด  ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ซ่อมรถ เมื่อวันที่  กันยายน ๒๕๔๑ ด้วยเงินลงทุน  ล้านดอลลาร์อเมริกันที่ระดมจากญาติสนิทและมิตรสหาย

          เมื่อ Google.com ถือกำเนิดนั้น ธุรกิจ Dot Com กำลังรุ่งเรืองสุดขีด แต่แล้วภาวะฟองสบู่ของธุรกิจ Dot Com ก็เริ่มแตกในปี ๒๕๔๓ จนธุรกิจ Dot Com กลายเป็นธุรกิจ Dot Gone Google.com สามารถฟันฝ่ามรสุมธุรกิจดังกล่าวนี้ได้อย่างดียิ่ง ไม่เพียงแต่จะอยู่รอดได้เท่านั้น หากยังเติบใหญ่ได้อีกด้วย

          เมื่อ Google.com เริ่มให้บริการ Search Engine นั้นในชั้นแรกมีผู้ใช้บริการเพียงวันละ ๑๐,๐๐๐ รายเศษ ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่าวันละ ๒๐๐ ล้านราย

          Search Engine ทำหน้าที่เสมือนหนึ่ง 'ห้องสมุดใน Cyberspace ผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้และค้นหาข้อมูล เพียงแต่เข้าสู่ Search Engine และพิมพ์คำไข (Key Words) หรือหัวข้อที่ต้องการค้น Search Engine จะช่วยนำพาไปสู่ Web- sites ต่าง  ที่สามารถให้ความรู้และข้อมูลตามคำไขหรือหัวข้อที่ค้นนั้น

          Google.com ให้ความสนใจในการพัฒนา Indexing Technology เพราะการจัดระบบดรรชนีเป็นหัวใจของ Search Engine ทั้งนี้ Search Engine จะต้องสามารถนำผู้ใช้บริการไปสู่ Website ที่ให้ข้อมูลและความรู้ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการในเวลาอันรวดเร็ว

          Google.com ทุ่มทรัพยากรในการวิเคราะห์เนื้อหา ของ webpage ต่าง  เพื่อกำหนดคำไข และเพื่อประเมินความ นิยมของผู้ใช้บริการด้วยเหตุดังนี้ Google.com จึงสามารถจัดทำดรรชนีสำหรับ Web Journals เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการได้

          ในด้านหนึ่ง Google.com กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา Indexing Technology ในอีกด้านหนึ่ง Google.com ให้ความสำคัญในด้านยุทธศาสตร์การตลาด ทั้งนี้เนื่องจาก Google.com อยู่รอดในทางธุรกิจได้ด้วยรายได้จากการโฆษณา โดยที่รายได้จากการโฆษณาเพิ่มพูนตามปริมาณผู้ใช้บริการ ในขณะที่ปริมาณผู้ใช้บริการจะมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการให้บริการของ Google.com เองยุทธศาสตร์ทั้งสองจึงขึ้นต่อกันและกัน และมีผลต่อชะตากรรมของ Google.com

          Google.com สนใจศึกษาว่า webpage แต่ละหน้าสมควรโฆษณาสินค้าหรือบริการอะไร การหาโฆษณาของ Google. com จึงมีเป้าหมายเด่นชัด เพราะมิได้เพียงให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการได้ประโยชน์เท่านั้น หากต้องการให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ด้วย อาทิ ในขณะที่ผู้ใช้บริการกำลังค้นข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว จะมีโฆษณาบริการนำเที่ยวปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ด้วยวิธีการเช่นนี้ Google.com ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการพอใจที่จะโฆษณากับ Google.com